วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

unit 3-4


บทที่ 3
การผลิต/บริการ
1. องค์ประกอบของกระบวนการผลิต
2. ประเภทของการผลิต
3. ขั้นตอนของกระบวนการผลิต
4. การบริหารคุณภาพและมาตรฐานการผลิต
5. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

องค์ประกอบของกระบวนการผลิต
องค์ประกอบของกระบวนการผลิต ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการแปรสภาพ ผลผลิต ระบบการควบคุม ข้อมูลย้อนกลับ

ประเภทของการผลิต
1. แบ่งตามประเภทการผลิต ได้แก่ การผลิตตามคำสั่งซื้อ (Made-to-order) การผลิตเพื่อรอจำหน่าย (Made-to-stock) การผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อ (Assembly-to-order)
2. แบ่งตามปริมาณการผลิต ได้แก่ การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Process) การผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (Intermittent Process) การผลิตแบบโครงการ (Project Operation)

ขั้นตอนของกระบวนการผลิต
การวางแผนการผลิต การดำเนินการผลิต และ การควบคุมการผลิต

การบริหารคุณภาพและมาตรฐานการผลิต
การใช้หลักการบริหารคุณภาพด้วยการรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้า สร้างวัฒนธรรม
ขององค์กร ใช้เครื่องมือและเทคนิคการบริหารคุณภาพสมบูรณ์แบบแก่ธุรกิจอย่างถูกต้อง
การบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานอุตสาหกรรกรรมหรือมาตรฐานสากลจะช่วยให้องค์กรเกิดผลดีในระยะยาว คือ การขยายตลาดทำได้ง่ายขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อม การสร้างระบบการทำงานที่ดี

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
1. การเพิ่มผลผลิต (Productivity) โดยพิจารณาจาก ผลผลิต หารด้วย ปัจจัยการผลิต
2. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยวงจรการบริหาร PDCA



หน่วยที่ 4
การจัดการการเงิน
1. การจัดการการเงิน
2. แนวคิดพื้นฐานทางบัญชี
3. การบันทึกบัญชี
4. การจัดทำรายงานทางการเงิน
5. การวิเคราะห์การลงทุน

การจัดการการเงิน
1. หน้าที่ทางการจัดการการเงิน ประกอบด้วย การคาดการณ์ความต้องการเงินทุน การจัดหาแหล่งเงินทุน การจัดสรรเงินทุน
2. แหล่งที่มาของเงินลงทุน มาจากเงินทุนส่วนตัวหรือเงินทุนของเจ้าของกิจการเอง
เงินที่ได้จากการรวมหุ้น เงินจากการกู้ยืมจากแหล่งทุนต่าง ๆ
3. กิจกรรมหลักทางด้านการเงิน ได้แก่ การลงทุน การจัดหาเงินทุน การดำเนินงาน

แนวคิดพื้นฐานทางบัญชี

1. การแยกธุรกิจออกจากส่วนตัว ในการดำเนินธุรกิจผู้ประกบการควรแยกกระเป๋าเงินของตนเองและกิจการออกจากกัน และบันทึกบัญชีที่เกี่ยวกับกิจการเท่านั้น
2. เกณฑ์คงค้าง (Accurual basis) เป็นหลักการที่ใช้ในการบันทึกบัญชีเมื่อรายการที่เกี่ยวกับการค้าเกิดขึ้น แม้ว่าจะไม่มีการรับหรือจ่ายเงินสดก็ตาม
3. การจับคู่รายได้และค่าใช้จ่าย (matching concept) เป็นการบันทึกค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับรายได้ที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบบัญชี เพื่อให้การวัดผลการดำเนินงานมีความถูกต้อง
4. การเสื่อมราคาของสินทรัพย์ สินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานนานกว่า 1 ปี ควรตัดจำหน่ายเป็นค่าใช้สินทรัพย์นั้นซึ่งเรียกว่า “ค่าเสื่อมราคา” ซึ่งเป็นการคิดการสึกหรอหรือเสื่อมสภาพจากการใช้งานในงวดนั้น โดยประมาณจากอายุการใช้งานของสินทรัพย์แล้วตัดเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรขาดทุน

การบันทึกบัญชี
1. รายการที่เป็นสินทรัพย์จะบันทึกสินทรัพย์ที่ได้มาด้านซ้าย และจะบันทึกด้านขวา
เมื่อสินทรัพย์ลด
2. รายการที่เป็นหนี้สิน จะบันทึกหนี้สินที่เพิ่มขึ้นด้านขวา บันทึกด้านซ้ายเมื่อจ่าย
ชำระหนี้สิน
3. รายการที่เป็นทุน จะบันทึกทุนที่เพิ่มขึ้นด้านขวา บันทึกทุนที่ลดด้านขวา
4. รายการที่เป็นรายได้ จะบันทึกรายได้ที่เกิดขึ้นด้านขวา
5. รายการที่เป็นค่าใช้จ่าย จะบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นด้านซ้าย

การจัดทำรายงานทางการเงิน
1. งบกำไรขาดทุน (Income Statement) เป็นงบที่แสดงถึงผลการดำเนินงานของกิจการในรอบระยะเวลาที่แจ้งไว้ในงบนั้น หรือเป็นการเปรียบเทียบผลต่างระหว่างรายได้และค่าใช้จ่าย ถ้ารายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายกิจการจะมีกำไร ในทางตรงข้ามถ้ารายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายกิจการจะขาดทุน ได้มาจากการเปรียบเทียบระหว่างรายได้และค่าใช้จ่าย เพื่อหาผลต่างสุทธิจากการประกอบการนั้น ถ้ารายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย ก็จะเกิดผลกำไรสุทธิ แต่ถ้า รายได้มีน้อยกว่าค่าใช้จ่าย ก็จะเกิดผลขาดทุนสุทธิ
2. งบดุล ( Balance Sheet) เป็นงบที่แสดงถึงฐานะการเงินของกิจการ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งส่วนหนึ่งแสดงถึงสินทรัพย์ลงทุนเพื่อสร้างรายได้ อีกส่วนหนึ่งแสดงถึงภาระผูกพัน และแหล่งที่มาของเงินทุน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการกู้ อีกส่วนมาจากการระดมทุนมาจากเจ้าของตัวอย่าง การแสดงงบดุลอย่างง่ายของกิจการเจ้าของคนเดียว

การวิเคราะห์การลงทุน
1. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน จุดคุ้มทุน (Beak Even point) หมายถึง ระดับการขายที่ทำให้รายได้รวม เท่ากับค่าใช้จ่ายรวมพอดี ณ ระดับการขายนี้ จะไม่มีกำไรหรือขาดทุนจากการดำเนินงานเกิดขึ้น
2. การหาค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value หรือ NPV) เป็นการพิจารณาถึงผลตอบแทนและเงินลงทุนในโครงการลงทุนที่แท้จริง โดยคำนวณตามค่าปัจจุบันของเงิน ซึ่งเป็นค่าที่แท้จริงของเงินเมื่อมีการคิดแบบดอกเบี้ยทบต้นโดยปรับมูลค่าเงินตามกาลเวลาและอัตราดอกเบี้ยแล้ว
3. การหาอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return หรือ IRR) เป็นการหาอัตราผลตอบแทนของกาสรลงทุนนั้น โดยหาระดับอัตราส่วนลดที่ทำให้ผลตอบแทนทั้งหมดที่คาดว่าจะได้รับตลอดอายุการลงทุนมีค่าปัจจุบันรวมแล้วเท่ากับเงินลงทุน